ไขข้อข้องใจ"EIA ทำไมขายคอนโดถึงต้องอยู่ในป้ายโฆษณา?


14 / 06 / 2021

ทำความรู้จักEIA ทำไมขายคอนโดถึงต้องมีอยู่ในป้ายโฆษณา ชุมชนขนาดใหญ่แนวรถไฟฟ้า สผ.เกณฑ์อีไอเอ กฎหมายสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านร้องเรียน ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียม

รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องมีการทำอีไอเอ(EIA)หรือการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับอาคารพักอาศัย ที่อยู่ในเกณฑ์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม ตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป  ตามพระราชบัญญัติ(พรบ.) ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ,พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 46

ดังนั้นก่อนยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องฝ่าด่านอีไอเอให้ได้ก่อน แต่เนื่องด้วยการขายของคอนโดฯมักต้องใกล้แหล่งงานแนวรถไฟฟ้า ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ดินทำเลดีแพงหายาก จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ผู้ประกอบการต้องเฟ้นหาที่ดินกลางชุมชนขนาดใหญ่ การกระทบกระทั่งระหว่างชุมชนกับคอนโดฯที่จะสร้างจึงเกิดขึ้น 

 อีไอเอจึงเป็น เครื่องมือชี้วัดว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่า จะจัดทำตามเกณฑ์ ที่กำหนดได้หรือไม่ เช่นหากมีตึกใหญ่ มีคนจำนวน200-500คนเข้าไปอยู่รวมกัน ขณะขนาดถนนซอย  น้ำประปา ท่อระบายน้ำเท่าเดิม จะรองรับกลุ่มก้อนคนจากตึกๆเดียวโดยไม่ไปสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับชุมชนเดิมคนบ้านข้างเคียงได้อย่างไร

แม้บางโครงการผ่านอีไอเอได้รับอนุญาต นำไปประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ปรากฎว่ายังเกิดการร้องเรียนบ้านร้าว ฝุ่นพิษ เศษวัสดุตกหล่น เริ่มพบมากขึ้นจากชุมชนรวมตัวกันคัดค้าน บางอาคารถึงขั้นต้องหยุดก่อสร้างไปก็มี  บางโครงการซื้อที่ดินเตรียมก่อสร้าง  แต่ไปบดบังวิว เช่นริมน้ำเจ้าพระยา ของโครงการที่เปิดขายเดิม เมื่อจะมีตึกที่สร้างสูงกว่าเสียบตรงหน้าหน้าบังวิวตึกด้านหลังก็มีปัญหาฟ้องร้องโดยอ้างว่าซื้อเพราะวิวในราคาแสนแพง

อีกทั้ง ตึกสูงสร้างบังลมบังแดดผ้าที่เคยตากแห้งเร็วภายใน20นาที กลับแห้งช้าทำให้เป็นเชื้อรา  ลมเคยพัดผ่านเย็นสบายเมื่อเกิดตึกใหม่ กลับทำให้ร้อนบังลม หรือแม้แต่ ตึกสูงที่โอ้บล้อมไปด้วยกระจก อาจเป็นอันตรายต่อคนที่อยู่เบื้องล่างในการสัญจรโดยเฉพาะกลุ่มขับขี่รถจักรยนยนต์รถยนต์ อาจเกิดอุบัติเหตุกระจกสะท้อนแสงเข้าตา ก็มีการร้องเรียน ซึ่งมีให้เห็นมากมาย ในที่สุดก็มีการปรับแก้ให้เกิดความพอเหมาะพอดี ตึกสูงอยู่ร่วมกับชุมชนได้ เพราะ ได้สร้างดีกว่าไม่ได้สร้าง

ดังนั้นอีไอเอตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม จึงมีอานุภาพมาก เหนือกฎหมายทั้งปวงทั้งกฎหมยผังเมืองกฎหมายอาคารชุดกฎหมายควบคุมอาคาร สำหรับ การก่อสร้างอาคาร ที่ผ่านมา จึงมีการแก้เกณฑ์เพื่อให้เกิดความสมดุลย์ทั้งผู้ประกอบการและชุมชน คือ ต้องฟังเสียงชุมชนในรัศมี 100เมตร เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาอีไอเอ หากชุมชนเห็นด้วยก็ผ่านและไปพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆจากรหัสที่กำหนด ทำให้เวลาการพิจารณาลดลง เว้นแต่การใช้ดุลยพินิจในบางเรื่องที่อาจมีเกิดขึ้นที่ผู้ประกอบการมองว่าทำให้ล่าช้าสวนทางกับดอกเบี้ยที่วิ่งทุกวันเรื่องนี้ต้องว่ากันไป

ที่สำคัญ ประเด็นการรับฟังความเห็นชุมชนที่ตั้งโครงการ บางรายใช้เทคนิค ถามบ้านที่อยู่ไกลสุดรัศมี100เมตรสุ่มตัวอย่างแต่ไม่ได้ถามชาวบ้านที่คอนโดฯตั้งประชิด ปัญหาจึงตามมา ทางออกสผ.จึง ออกเกณฑ์ใหม่ ที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็น วันที่18มิ.ย.นี้ เฉกเช่นบังลมบังแดด ดังนั้นมักจะเห็นคอนโดฯเปิดขายแล้วมี EIA แปะอยู่ว่าอยู่ระหว่างยื่นหรือผ่านEIAแล้วอยู่ตามป้ายต่างๆ

ขณะบทความ ที่น่าสนใจ เขียน โดย : Chantawon.U เขาตั้งคำถามว่า EIA คืออะไร มีความสำคัญกับเราอย่างไร หากไปถามบุคคลทั่วไปหลายคนอาจจะแทบไม่รู้จักเลยด้วยซ้ำ แต่หากคุณเตรียมจะหาซื้อบ้านสักหลัง คอนโดมิเนียมสักห้อง ก็ควรจะให้ความสำคัญกับ EIA ไว้สักหน่อย เคยสังเกตตามป้ายโฆษณาขายบ้านขายคอนโดมิเนียมที่จะมีเขียนคำว่า EIA Approved กันบ้างหรือไม่ แล้วมันคืออะไร แปลว่าอะไร วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเรื่องของ EIA กับโครงการที่อยู่อาศัยว่าจะมีบทบาทและความสำคัญ

EIA ย่อมาจาก Environmental Impact Assessment Report หรือการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อคาดการณ์ผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบจากการพัฒนาโครงการ  เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการ

ข้อดีของ EIA คือ ช่วยหาทางป้องกันผลกระทบในทางลบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในโครงการนั้นให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้อย่างมีประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักบริหารหรือผู้ประกอบการว่าสมควรดำเนินโครงการนั้นต่อหรือไม่ การทำ EIA จะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากได้รับการวางแผนป้องกันปัญหาต่างๆ  ตั้งแต่ขั้นตอนศึกษาความเหมาะสมของโครงการและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังดำเนินโครงการไปแล้ว โดยในรายงาน EIA จะมีการกำหนดมาตรการป้องกัน และติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบเป็นหัวข้อหลักที่สำคัญของรายงานอีกด้วย

โครงการที่อยู่อาศัยแบบไหนบ้างที่ต้องทำและใครกำหนดว่าต้องทำ EIA

  • โครงการคอนโดมิเนียม ที่มีจำนวนห้องชุด (unit) ตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  • โครงการบ้านจัดสรรที่มีจำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลง หรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่

โดยการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องทำตามกฎหมายภายใต้ พระราชบัญญัติ(พรบ.) ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 46 ที่ระบุว่าโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ในเกณฑ์ข้างต้นที่กล่าวมา จะต้องทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งข้อกำหนดต่างๆตาม EIA ถือเป็นข้อตกลงหรือคำมั่นสัญญาที่เจ้าของโครงการมีให้ไว้ โดยข้อกำหนดใน EIA จะเป็นสิ่งที่แนบท้ายใบอนุญาติต่างๆ เช่น ใบอนุญาติการก่อสร้าง ดังนั้นหากเจ้าของโครงการไม่ทำตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ หน่วยงานผู้มีสิทธิอนุญาติ ก็มีสิทธิลงโทษตามระเบียบได้

เว็บไซต์อ้างอิง : thansettakij

ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย

บทความที่เกี่ยวข้อง
รายการ