อายุย่างเข้าวัยเกษียณ จะกู้ซื้อบ้านได้ไหม?

        สำหรับคนสูงวัย อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่สนใจกู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยคงกำลังมองหาสินเชื่อกู้บ้าน สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่จะช่วยให้เรามีบ้านในฝันได้แบบไม่ล้มละลาย สบายกระเป๋า แต่ธนาคารส่วนใหญ่ที่ให้สินเชื่อสำหรับบุคคลทั่วไปคงไม่ปล่อยกู้ให้คนอายุย่างเข้าเลข 50 – 60 ง่ายๆ โดยเฉพาะหลังเกษียณยิ่งแล้วใหญ่ จะไปกู้ธนาคารที่ไหนได้? Tooktee รวบรวมสินเชื่อกู้บ้าน 2 แบบสำหรับคนวัยเก๋า อายุย่างเข้าเลขหลัก 5-6 ทั้งผู้ที่ทำงานทั่วไป และผู้ที่ทำงานราชการ นั่นคือ สินเชื่อบ้านบุพเพสันนิวาส จาก ธอส. และ สินเชื่อสำหรับข้าราชการบำนาญจากหลากหลายธนาคาร มาเปรียบเทียบให้คุณเลือกง่าย ๆ ได้แล้วที่นี่

ชื่อสินเชื่อ

วงเงินสูงสุด (บาท)

อัตราดอกเบี้ย (%)

อายุที่สามารถ
กู้ได้ (ปี)

ระยะเวลาผ่อนสูงสุด (ปี)

สินเชื่อบ้านบุพเพสันนิวาส ธอส.

ตามระเบียบธนาคาร

10 ปีแรก คงที่ 3.99%

50 ปีขึ้นไป ผ่อนได้จนถึงอายุ 75 ปี

40 ปี

สินเชื่อสำหรับข้าราชการบำนาญ

100% ของเงิน บำเหน็จตกทอด

ขึ้นอยู่กับธนาคาร

ส่วนใหญ่ไม่จำกัดอายุสูงงสุด

ประมาณ 30 ปี 

ที่มา: ธนาคารผู้ให้บริการสินเชื่อ
รวมรวบโดย Tooktee

  1. สินเชื่อบ้านบุพเพสันนิวาส จาก ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้เปิดตัว “สินเชื่อบ้านบุพเพสันนิวาส” ให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัย ด้วยวงเงิน 3 พันล้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีที่อยู่อาศัยอย่างมีความสุข รับสังคมผู้สูงวัย โดยคงอัตราดอกเบี้ย 10 ปีแรก ไว้ที่ 3.99% ต่อปี ให้กู้สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผ่อนนานสูงสุดถึงอายุ 75 ปี ยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2561 และสิ้นสุดระยะเวลาทำนิติกรรมเมื่อสินเชื่อเต็มกรอบวงเงินโครงการตามที่ธนาคารกำหนด   

คุณสมบัติผู้กู้  อายุ 50 ปีขึ้นไป (คำนวณอายุจากปีเกิด)

วัตถุประสงค์การกู้ 

  • เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด

  • เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร

  • เพื่อซื้อที่ดินเปล่าที่เป็นทรัพย์ NPA ของ ธอส.

  • เพื่อซื้อหรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกฯ พร้อมวัตถุประสงค์การขอกู้เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุดเท่านั้น

หมายเหตุ อาคาร หมายถึง บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด และอาคารพาณิชย์เพื่อที่อยู่อาศัย

วงเงินกู้        วงเงินกู้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อ       

อัตราดอกเบี้ย   
- 10 ปีแรก คงที่ 3.99% ต่อปี
- ปีที่ 11 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้ กรณีสวัสดิการ อัตราดอกเบี้ย MRR-1.00% ต่อปี กรณีลูกค้ารายย่อย เท่ากับ MRR-0.50% ต่อปี กรณีกู้ซื้ออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย ดอกเบี้ยเท่ากับ MRR (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR ธอส.เท่ากับ 6.75% ต่อปี) 

ระยะเวลาผ่อนชำระ (ปี)

ไม่น้อยกว่า 11 ปี 6 เดือน และไม่เกิน 40 ปี โดยอายุผู้กู้รวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้น ข้าราชการตุลาการอัยการ หรืออื่นๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุผู้กู้รวมระยะเวลากู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

ข้อดี – ข้อเสีย   

นับว่าสินเชื่อตัวนี้ช่วยให้ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะเตรียมตัวเกษียณ หรือ เกษียณแล้วก็ตามสามารถกู้บ้านได้เอง หรือจะกู้ร่วมกับผู้ที่อายุน้อยกว่าก็ได้เนื่องจากจะทำให้ระยะเวลาการผ่อนชำระเพิ่มขึ้นได้สูงสุด 40 ปี จากเดิม 25 ปีหากเริ่มผ่อนเมื่ออายุ 50 ปี ถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสในการมีทีี่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในวัยเกษียณ รองรับสังคมผู้สูงวัย

เนื่องจากมีวงเงินเพียง 3,000 ล้านบาทเท่านั้น หากมีคนกู้เงินคนละ 2 ล้านบาทเพื่อซื้อ หรือปลูกบ้าน จะปล่อยกู้ได้เพียง 1,500 คน เท่านั้น ดังนั้นคนที่มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากโครงการนี้จึงมีจำนวนน้อยมาก หากคนที่สมัครสินเชื่อนี้ไม่ทัน คงต้องรอจนกว่าโครงการจะได้รับงบประมาณเพิ่ม หรือ มีโครงการสินเชื่อใกล้เคียงจากธนาคารอื่น ๆ ในอนาคต

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ghbank.co.th/product-detail/bubpay-loan-2018

  1. สินเชื่อสำหรับข้าราชการบำนาญ

มีหลายธนาคารที่ให้สินเชื่อดังกล่าวโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน และหลายๆ ธนาคารยังไม่จำกัดอายุของผู้กู้อีกด้วย ทำให้ข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำที่มีบำเหน็จ–บำนาญ สามารถขอสินเชื่อนำไปซื้อบ้าน ซื้อรถได้ นับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้สูงอายุที่เกษียณจากงานราชการ หากไปกู้สินเชื่อบ้าน-รถผ่านโครงการสินเชื่อซื้อบ้านสำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไป ทางธนาคารจะไม่กล้าปล่อยสินเชื่อให้ผู้สูงอายุ เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถผ่อนชำระได้ตลอดอายุสัญญา อาจเสียชีวิตไปเสียก่อน สินเชื่อตัวนี้จึงใช้บำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักประกัน ต่อให้ผู้กู้เสียชีวิตไปแล้ว ก็ยังสามารถชำระหนี้ได้ ไม่เป็นภาระลูกหลานนั่นเอง

คุณสมบัติผู้กู้

เป็นผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ออกหนังสือรับรองสิทธิให้นำบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักประกันเงินกู้

อายุที่สามารถกู้ได้   

หลายธนาคารไม่กำหนดอายุสูงสุดที่สามารถกู้ได้ แต่กำหนดระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 

วัตถุประสงค์การกู้ 

นำไปใช้จ่ายตามความต้องการทั่วไป หรือ นำไปชำระหนี้ที่มีอยู่กับสถาบันอื่น เช่นไปโปะค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หรือจะนำเงินไปซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม ก็ได้ตามสะดวก

วงเงินสูงสุด           

ไม่เกิน 100% ของจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอด

อัตราดอกเบี้ย        ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร (ดูข้อมูลสรุปด้านล่าง)

ระยะเวลาผ่อนสูงสุด    30 – 40 ปี 

วิธีการผ่อนชำระ

ผ่อนชำระเป็นรายเดือนโดยกรมบัญชีกลางจะทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคาร และ ทำการหักเงินบำนาญรายเดือนของผู้กู้ เพื่อทำการชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคาร

ข้อควรระวัง   

การใช้สิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกันหมายความว่า หากผู้กู้เสียชีวิตลง เงินที่จะได้รับเพื่อใช้เป็นมรดกให้ลูกหลาน หรือ จัดงานศพอาจจะต้องหมดไปจากการโดนหักประกันที่กู้มานั่นเอง หากวางแผนจะกู้สินเชื่อในรูปแบบนี้แล้ว Tooktee แนะนำให้วางแผนการเงินกับลูกหลานให้ดี จะได้ไม่ผิดใจกันในภายหลัง แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลาน ก็เหมาะที่จะใช้สินเชื่อสำหรับข้าราชการบำนาญนี้เลย

ธนาคารทีให้บริการ

มีธนาคารที่ให้สินเชื่อสำหรับข้าราชการบำนาญโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกันมากมาย ให้คุณเลือก โดยส่วนใหญ่จะมีข้อแตกต่างกันที่รูปแบบดอกเบี้ย และคุณสมบัติผู้กู้ เช่นเ รื่องอายุ เป็นต้น Tooktee ได้รวบรวม 6 โครงการสินเชื่อจากแต่ละธนาคารมาให้คุณเลือก และขอแนะนำให้ลองติดต่อธนาคารแต่ละเจ้าเพื่อสอบถาม และเปรียบเทียบรูปแบบกันอีกทีนะคะ

 

รูปบทความ : อายุย่างเข้าวัยเกษียณ จะกู้ซื้อบ้านได้ไหม

 

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดสินเชื่อแต่ละธนาคารได้ที่นี่

  1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ - โครงการให้สินเชื่อแก่ข้าราชการบำนาญโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน

        https://www.ghbank.co.th/product-detail/government-retired-officer

  1. ธนาคารออมสิน - สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการบำนาญและลูกจ้างประจำ โดยใช้บำเหน็จตกทอดเป็นหลักประกัน

       https://www.gsb.or.th/products/loan_rt/loan_retirement.aspx

  1. ธนาคารกสิกรไทย – สินเชื่อบุคคลเพื่อข้าราชการบำนาญ

       https://kasikornbank.com/k-personal-pensioner-loan

  1. ธนาคารทหารไทย – สินเชื่อสวัสดิการบำเหน็จตกทอด (สำหรับข้าราชการบำนาญทหาร)
    https://www.tmbbank.com/loan/benefit-plus-pension.html

  2. ธนาคารกรุงไทย - สินเชื่ออเนกประสงค์สำหรับผู้รับบำนาญ บำเหน็จรายเดือน และผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือน
    https://www.ktb.co.th/th/personal/loan/personal-loan/48

  3. ธนาคารกรุงเทพ – สินเชื่อข้าราชการบำนาญ

        https://www.bangkokbank.com/th-TH/Personal/My-Family-and-Me/Loan-for-Pensioner

 

สำหรับคนที่ไม่สามารถสมัครสินเชื่อทั้ง 2 แบบข้างต้น ทั้งสินเชื่อบ้านบุพเพสันนิวาส จาก ธอส. และสินเชื่อสำหรับข้าราชการบำนาญจากหลากหลายธนาคาร คงต้องรอดูต่อไปว่าธนาคารต่าง ๆ จะออกสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านของผู้สูงอายุในรูปแบบอื่น ๆ ออกมารับสังคมผู้สูงวัยอีกไหม

    หากใครสนใจรับข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การซื้อบ้าน คอนโด และการลงทุนสามารถติดตามได้ผ่านทางเฟซบุคเพจ Tooktee.com (ฝังลิงค์)

ที่มา : 

https://www.ghbank.co.th/news/detail/public-relations/press-july-1

https://moneyhub.in.th/article/reverse-mortgage/

People photo created by tirachardz - www.freepik.com

เว็บไซต์อ้างอิง :

#สินเชื่อ #บำนาญ #ข้าราชการ #เกษียณ #ผู้สูงอายุ

ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย

รายการ