8 เรื่องควรรู้ เตรียมความพร้อมบ้าน สำหรับผู้สูงอายุ

        เตรียมวางแผน เตรียมที่อยู่ เตรียมความพร้อมบ้าน หากคุณวางแผนอนาคตไว้ในช่วงเกษียณอายุ หรือ กำลังวางแผนหาบ้านให้ผู้สูงอายุแล้วล่ะก็ Tooktee แนะนำวิธีเตรียมความพร้อมในเรื่องที่อยู่อาศัย ที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีการเปลี่ยนแปลง ด้านกายภาพหลายๆ อย่าง การปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุเอง การออกแบบโครงสร้าง การตกแต่งบ้าน การจัดวาง หรือแม้แต่การติดตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกเองก็ควรมีความปลอดภัย และใช้งานง่าย เพื่อให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

8 เรื่องควรรู้ หากต้องทำบ้านเพื่อผู้สูงอายุ

1. ความฝืดของพื้น

ไม่ว่าจะเป็นพื้นกระเบื้องหรือพื้นไม้ ควรจะเป็นพื้นที่มีความฝืดของผิวสัมผัสและต้องเป็นกระเบื้องที่กันลื่นได้ หากเป็นพื้นพรมควรติดขอบและมุมของพรมให้แน่น ไม่นูนหรือเปิดขึ้นมาทำให้เสี่ยงต่อการสะดุดล้มได้

2. หลีกเลี่ยงพื้นต่างระดับ

พื้นต่างระดับ เป็นสิ่งที่สร้างความลำบากให้กับผู้สูงอายุทั้งการเดินหรือแม้แต่การนั่งรถเข็น หากจำเป็นต้องทำพื้นที่ต่างระดับ ควรทำทางลาดควบคู่กันไปทุกตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนระดับ โดยความลาดชันของทางลาดต้องไม่เกิน 1 : 12 หมายความว่า พื้นที่ต่างระดับ 1 เมตร ต้องมีทางลาดยาว 12 เมตร เป็นต้น

3. ติดตั้งราวจับ

 

 

ควรติดตั้งราวจับ ตั้งแต่ทางเข้าไปจนถึงโถส้วมหรือจุดอาบน้ำ เพราะเวลาที่พื้นเปียกจะค่อนข้างลื่นกว่าปกติ และเพื่อยึดจับแทนการจับอุปกรณ์สุขภัณฑ์ต่างๆ เช่น อ้างล่างหน้า ราวแขนผ้า เพราะสุขภัณฑ์เหล่านี้อาจจะหลุดออกมาเป็นอันตรายได้ และควรติดตั้งตัวราวจับและสกรูยึดติดผนังให้มีความแข็งแรงและรับน้ำหนักได้มั่นคงต่อการลุกยืน

4. ประตูกว้างขวาง

 

โดยปกติบานประตูทั่วไปจะมีความกว้างอยู่ประมาณ 70 เซนติเมตร แต่สำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุ บานประตูควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อช่วยในเรื่องความสะดวกของผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องนั่งรถเข็น

5. สวิตซ์ไฟควรอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

ควรติดสวิตซ์ไฟไว้ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุเอื้อมถึง และไม่ต่ำเกินไปจนลำบากในการก้มลง เพราะอาจจะมีบางเวลาที่ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว และต้องการแสงสว่าง ปุ่มสวิตช์ไฟควรมีขนาดใหญ่เพื่อให้เห็นง่าย ชัดเจน และควรอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อให้ง่ายในการเปิด-ปิดใช้งาน

6. ความสม่ำเสมอของแสงสว่าง

โดยปกติแล้วช่วงวัยผู้สูงอายุจะมีสายตาที่ตอบสนองต่อแสงสว่างค่อนข้างช้ากว่าวัยช่วงวัยอื่น ดังนั้นควรจัดให้บ้านมีแสงสว่างที่สม่ำเสมอ หรือมีความสว่างของแสงไฟใกล้เคียงกันดีที่สุด และควรติดตั้งหลอดไฟที่มีแสงนวลตา เช่น โทนแสงสีส้ม หรือ โทนแสงสีเหลือง เพื่อเป็นการถนอมสายตาของผู้สูงอายุ เป็นต้น

7. ตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์

โต๊ะสำหรับผู้สูงอายุควรมีขนาดความสูงต่ำกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อให้สะดวกในการหยิบจับสิ่งของสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น และทางที่ดีควรเป็นโต๊ะที่ไม่มีลิ้นชัก เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเข็นรถเข้าออกได้อย่างสะดวกนั้นเอง และควรจัดวางเฟอร์นิเจอร์ใม่ให้วางขวางทางสำหรับเข็นรถเข้าออก

8. สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย

ควรติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ไว้บริเวณห้องต่าง ๆ โดยเฉพาะห้องนอนและห้องน้ำ ทางที่ดีควรติดตั้งไว้หลาย ๆ จุดภายในบ้าน เพราะ เวลาที่เราไม่ได้อยู่ใกล้ๆ ผู้สูงอายุ เราก็ยังสามารถได้ยินเสียงสัญญาณขอความช่วยเหลือจากผู้สูงอายุได้

 
 

        การออกแบบหรือปรับโครงสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุ จำเป็นจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยเอื้อให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตของตนเองได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่หากใครคิดว่าการสร้างบ้านใหม่หรือการตกแต่งบ้านใหม่นั้นยุ่งยาก ก็อาจจะเลือกซื้อเป็นคอนโดมิเนียมสำหรับผู้สูงอายุโดยตรง ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความ 9 คอนโดผู้สูงอายุ เก๋ไก๋เหมาะกับคนรุ่นใหญ่ มิติใหม่ของสังคมผู้สูงวัย ได้เลย

เว็บไซต์อ้างอิง

https://www.scgbuildingmaterials.com

https://decor.mthai.com/condo-design/38667.html

https://home.kapook.com/view58797.html

เว็บไซต์อ้างอิง :

#เกษียณอายุ #บ้านผู้สูงอายุ #ผู้สูงอายุ

ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย

รายการ