เช็คเลย! ขอมิเตอร์ไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ต้องเตรียมอะไรบ้าง


14 / 02 / 2024

เมื่อบ้านสร้างแล้วเสร็จก็ได้เวลาของการเข้าไปอยู่อาศัย แต่ยังไม่ติดตั้งไฟฟ้า ลองมาดูว่าขั้นตอนและวิธีการขอมิเตอร์ไฟฟ้า มีขั้นตอนอะไรบ้าง รวมถึงการขอมิเตอร์ไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร ในบทความนี้ Tooktee.com จะมาให้คำตอบและไขข้อสงสัย

เงื่อนไขการขอใช้ไฟฟ้า

ผู้ขอใช้ไฟฟ้า ได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้

1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า

2. ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า

3. ผู้มีสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมาย หรือตามสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาเช่า สัญญาจะซื้อจะขาย

เอกสาร/หลักฐาน ที่จำเป็น

ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่อในทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า

1. สำเนาประชาชน / Passport*

2. หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ขอใช้ไฟฟ้า

1. สำเนาประชาชน / Passport*

2. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ สถานที่ขอใช้ไฟฟ้า เช่น สัญญาซื้อขาย , สัญญาเช่าและหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า , หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ , สำเนาโฉนด เป็นต้น *

3. หนังสือรับรองการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน

กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน

1. หนังสือมอบอำนาจ

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้มอบอำนาจ

3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) ของผู้รับมอบอำนาจ

*หมายเหตุ : เอกสารหลักฐานในการขอรับบริการ ต้องเป็นเอกสารสำเนาที่มีการลงนามรับรอง สำเนาถูกต้องทุกฉบับ

ค่าธรรมเนียมขอมิเตอร์ไฟฟ้า

          ค่าธรรมเนียมนี้เป็นค่าตรวจสอบการติดตั้งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงจะไม่เก็บค่าประกันไฟฟ้าจากผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ที่เป็นบ้านที่อยู่อาศัย (ประเภทที่ 1) และกิจการขนาดเล็ก (ประเภทที่ 2) ยกเว้นในกรณีที่เปลี่ยนไปเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ การขอมิเตอร์ไฟฟ้าใช้เวลา 3 วันทำการ ในการตรวจสอบข้อมูล นัดหมาย ตรวจสายภายในอาคาร และติดตั้งอุปกรณ์ หลังจากจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวแล้ว ดังนี้

 

ค่าธรรมเนียมและการนัดหมาย

แอมแปร์ จำนวนเฟส ค่าใช้จ่าย (1)
5 (15) 1 700
15 (45) 1 700
30 (100) 1 700
50 (150) 1 700
15 (45) 3 700
30 (100) 3 1,500
50 (150) 3 1,500
200 3 2,500
400 3 2,500

*หมายเหตุ

ค่าใช้จ่าย (1) ค่าตรวจสอบการติดตั้งสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน (บาท)

การไฟฟ้านครหลวงจะไม่เรียกหลักประกันการใช้ไฟฟ้าจากผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัยและประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก ยกเว้นกรณีเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าจากประเภทดังกล่าวไปเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น

การไฟฟ้านครหลวงตรวจสอบข้อมูลและยืนยันนัดหมาย ตรวจสายภายใน/ติดตั้งเครื่องวัดภายใน 3 วันทำการ หลังจากชำระค่าใช้จ่าย

วิธีขอมิเตอร์ไฟฟ้า

วิธีขอมิเตอร์ไฟฟ้าออนไลน์

1. เข้าเว็บไซต์ mea.or.th หรือแอปพลิเคชัน Mea Smart Life ผ่านทั้งระบบไอโอเอส (iOS) ผ่าน App Store และระบบแอนดรอยด์ (Android) ผ่าน Google Play

2. ระบุรายละเอียดขอใช้ไฟฟ้า ระบุสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า ยืนยันตัวตนด้วยระบบ OTP

วิธีขอมิเตอร์ไฟฟ้าที่สำนักงาน

          นำเอกสารข้างต้นพร้อมลงนามสำเนาถูกต้องทุกฉบับไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผ่านการไฟฟ้านครหลวงเขตต่าง ๆ ที่สะดวก

ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้า

1. หลังจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ

2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง

3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานก็เรียบร้อยแล้ว

 

สามารถสอบถามเพิ่มเติมผ่าน  Line : https://line.me/R/ti/p/%40whn7789w
หรือ โทรศัพท์ : 0-2295-3905 ต่อ 125 

 

 

เว็บไซต์อ้างอิง : www.mea.or.th

#มิเตอร์ไฟฟ้า #การไฟฟ้านครหลวง #ขอมิเตอร์ไฟฟ้า

ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย

รายการ