กางตาราง!!! วิเคราะห์ค่าโดยสารรถไฟฟ้าประเทศไทย ใครอยู่ ใครไป

 


        ปัจจุบันรถไฟฟ้าที่เปิดให้ใช้โดยมีการให้บริการ 3 เจ้าหลัก คือ กลุ่มบีทีเอส การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยทั้งหมดมีสถานีเปิดใช้บริการรวมจำนวน 85 สถานี และจะมีการเปิดให้บริการเพิ่มอีกในอนาคตจากการพัฒนาส่วนต่อขยายและการพัฒนาเส้นรถไฟฟ้าสีใหม่ๆ (สีชมพู สีส้ม เป็นต้น)

สิ่งที่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าคำนึงถึงนอกจากความสะดวกสบาย และ ความปลอดภัย ก็คือเรื่องค่าโดยสารรถไฟฟ้า ซึ่งถึงจะสบาย และปลอดภัยกว่าอย่างไร แต่หากการใช้บริการทางเลือกอื่นๆ เช่น แท็กซี่ ที่หากใช้บริการเป็นกลุ่มอาจมีความคุ้มค่ากว่าที่ต้องนำไปเสียเงินจ่ายค่าบริการรถไฟฟ้าตามจำนวนผู้ใช้ หรือการใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่สะดวกรวดเร็ว ไปถึงที่ทันเวลาได้มากกว่าการเดินทางไปกับรถไฟฟ้า

โดยในวันนี้ Tooktee จะนำราคาค่าโดยสารรรถไฟฟ้าที่เปิดให้ใช้บริการมาวิเคราะห์ เพื่อให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ผู้โดยสารต้องจ่ายแต่อาจจะยังไม่ทราบ หรืออาจจะไม่รู้ลึกได้ โดยได้แบ่งตามผู้ให้บริการหลัก (ผู้ให้บริการอาจไม่ใช่ผู้พัฒนาหรือผู้รับสัมปทานก็ได้) ดังนี้

1. กลุ่มบริษัทบีทีเอส – BTS

2. ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ – BEM

3. กลุ่มการรถไฟแห่งประเทศไทย – ARL

 

 

 

กลุ่มบริษัทบีทีเอส – BTS

นับว่าเป็นรถไฟฟ้าเส้นแรกของประเทศไทย โดยเริ่มเปิดให้บริการเจ้าแรกในปีพ.ศ. 2542 หรือประมาณเกือบ 20 ปีที่แล้ว พัฒนาโดยกลุ่มบีทีเอสโฮลดิ้ง หรือในอดีตคือ บริษัท ธนายง จำกัด ปัจจุบันมีจำนวนสถานีที่เปิดให้บริการจำนวน 43 สถานี ซึ่งบางสถานีมีการให้บริการไม่ได้เป็นผู้พัฒนาเอง เช่น รถไฟฟ้าสายสีเขียวแบริ่ง ที่เป็นส่วนต่อขยายที่พัฒนาโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) โดยราคาค่าบริการปัจจุบัน (ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2562) เริ่มต้นตั้งแต่ 15 บาท ไปจนถึง 59 บาทต่อบัตรโดยสารเที่ยวเดียว (ไม่รวมสถานีทดลองใช้บริการซึ่งยังไม่มีค่าบริการ) โดยมีราคาค่าโดยสารไปสถานีต่าง ๆ สรุปได้จาก Fare Rate Table ดังนี้

 

ตารางค่าบริการ


ตารางค่าบริการ (Heat Map)

 

 

จากตารางข้างต้นสามารถแบ่งช่วงการบริการออกเป็น 3 ช่วงได้แก่ สายสุขุมวิท สายสุขุมวิท (ส่วนต่อขยาย) และสายสีลม โดยหากพิจารณาการเดินทางระหว่างสถานีในช่วงเดียวกันจะพบว่า

 

-     สายสุขุมวิท ตั้งแต่สถานีหมอชิต - อ่อนนุช ค่าโดยสารอยู่ในช่วง 16-44 บาทต่อเที่ยว

-     สายสุขุมวิท (ส่วนต่อขยาย) ตั้งแต่สถานีบางจาก - เคหะสมุทรปราการ) ค่าโดยสารอยู่ในช่วง 0-15 บาทต่อเที่ยว มีค่าบริการฟรีเนื่องจากการทดสอบระบบรถไฟฟ้าตั้งแต่สถานีแบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ หรือที่เรียกกันว่า ช่วงปากน้ำ ซึ่งคาดการณ์ว่าหากเปิดมีการเก็บค่าโดยสารจะเริ่มตั้งแต่ 15-21 บาทต่อเที่ยว ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีกำหนดการเริ่มเก็บค่าโดยสารแต่อย่างใด

-     สายสีลม ตั้งแต่สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – สถานีบางหว้า ค่าโดยสารอยู่ในช่วง 15-59 บาทต่อเที่ยว

สรุปราคาค่าโดยสารทั้ง 3 ช่วงได้ดังนี้

 

 
 

        หากพิจารณาการปรับราคาค่าโดยสารระหว่างสถานีทั้งระบบบริการของ BTS เพิ่มเติม จะพบว่าการปรับราคาค่าโดยสารระหว่างสถานีจะเริ่มตั้งแต่ไม่มีค่าใช้จ่าย (ศูนย์บาท) ไปจนถึงสูงสุดปรับเพิ่ม 15 บาทต่อสถานี*
 

        *ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเดินทางจากสถานีพระโขนงไปอ่อนนุช คุณจะเสียค่าโดยสาร 16 บาท ซึ่งหากคุณเดินทางเพิ่มอีก 1 สถานีคือ เดินทางจากสถานีพระโขนงไปบางจาก คุณจะเสียค่าโดยสารเป็นจำนวน 31 บาท ซึ่งเมื่อนำจำนวน 31 บาท ลบด้วย 16 บาท ก็จะพบว่าหากคุณเดินทางเพิ่มขึ้น 1 สถานี ก็จะเสียค่าบริการเพิ่มขึ้นถึง 15 บาท
 

ส่วนที่มีการปรับเพิ่ม 15 บาทต่อสถานี จะเป็นจุดเปลี่ยนระบบบริหารจัดการ มี 2 จุด คือ จุดระหว่างอ่อนนุช-บางจาก และจุดระหว่างวงเวียนใหญ่-โพธิ์นิมิตร ตามรูปภาพด้านล่าง


 
 
 

หรือสามารถเปรียบเทียบการปรับเพิ่มราคาระหว่างสถานี ได้จากตารางด้านล่าง

 

ตารางการปรับค่าบริการ


 
 

สาเหตุที่มีการปรับราคาค่าโดยสารในจุดดังกล่าวเนื่องจากมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบเป็นของกรุงเทพมหานคร (กทม.) จากส่วนสัมปทานสาย BTS เดิมที่สถานีวงเวียนใหญ่-สนามกีฬาแห่งชาติ กับ สถานีหมอชิต-อ่อนนุช ที่เป็นของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ซึ่งส่วนที่พัฒนาเพิ่มได้ใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานครสร้าง และไม่ได้อยู่ในสัมปทานเดิม จึงมีการคิดเพิ่มในอัตราราคาดังกล่าว

 

ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ – BEM

เป็นอีกเส้นรถไฟฟ้าที่เปิดใช้บริการควบคู่กับกลุ่มรถไฟฟ้าบีทีเอส พัฒนาโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) ปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสี มากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม และในด้านการบริการ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ก็ได้รับสัมปทานให้ดำเนินบริหารโครงการต่อหลังจากที่ได้สร้างเสร็จ ปัจจุบันมีจำนวนสถานีที่เปิดให้บริการจำนวน 34 สถานี โดยราคาค่าโดยสารปัจจุบัน (ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2562) เริ่มต้นตั้งแต่ 16 บาท ไปจนถึง 70 บาทต่อบัตรโดยสารเที่ยวเดียว โดยมีราคาค่าโดยสารไปสถานีต่าง ๆ สรุปได้จาก Fare Rate Table ดังนี้

 

ตารางค่าบริการ


ตารางค่าบริการ (Heat Map)
 

 

จากตารางข้างต้นสามารถแบ่งช่วงการบริการออกเป็น 2 ช่วงได้แก่ สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน) และสายสีม่วง โดยหากพิจารณาการเดินทางระหว่างสถานีในช่วงเดียวกันจะพบว่า

-     สายเฉลิมมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน) ตั้งแต่สถานีหมอชิต - อ่อนนุช ค่าโดยสารอยู่ในช่วง 16-42 บาทต่อเที่ยว

-     สายสีม่วง ตั้งแต่สถานีเตาปูน – คลองบางไผ่ ค่าโดยสารอยู่ในช่วง 16-42 บาทต่อเที่ยว


จะพบว่าค่าโดยสารทั้ง 2 สาย ราคาสูงสุดและต่ำสุดเท่ากัน ทำให้พิจารณาได้ว่าค่าโดยสารโดยการบริหารจัดการของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM นั้น ไม่ซับซ้อนเท่ากับกลุ่ม BTS เนื่องจากบริหารจัดการโดย BEM เพียงเจ้าเดียว

.

ซึ่งหากพิจารณาค่าโดยสารทั้งระบบบริการของ BEM นั้น จะพบว่าการปรับราคาค่าโดยสารระหว่างสถานีจะเริ่มตั้งแต่ไม่มีค่าใช้จ่าย (ศูนย์บาท) ไปจนถึงสูงสุดปรับเพิ่ม 3 บาทต่อสถานี หรือเฉลี่ยปรับเพิ่มที่ประมาณ 2-3 บาทต่อสถานี หรือสามารถเปรียบเทียบการปรับเพิ่มราคาระหว่างสถานี ได้จากตารางด้านล่าง


ตารางการปรับค่าบริการ

 

ซึ่งนับว่าการปรับเพิ่มราคาค่อนข้างคงที่กว่าบีทีเอสเลยทีเดียว

 

กลุ่มการรถไฟแห่งประเทศไทย – ARL

สายรถไฟฟ้าที่เปิดใช้บริการโดยเน้นพื้นที่ในเมืองเชื่อมต่อชานเมือง โดยแผนในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อถึง 3 สนามบิน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร (สนามบินดอนเมือง) สมุทรปราการ (สนามบินสุวรรณภูมิ) และชลบุรี (สนามบินอู่ตะเภา) และนับว่าปัจจุบันเป็นสายรถไฟฟ้าที่มีจำนวนสถานีเปิดให้บริการน้อยที่สุด ปัจจุบันมีจำนวนสถานีที่เปิดให้บริการเพียงจำนวน 8 สถานี พัฒนาโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยราคาค่าบริการปัจจุบัน (ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2562) เริ่มต้นตั้งแต่ 15 บาท ไปจนถึง 45 บาทต่อบัตรโดยสารเที่ยวเดียว โดยมีราคาค่าโดยสารไปสถานีต่าง ๆ สรุปได้จาก Fare Rate Table ได้ดังนี้


ตารางค่าบริการ

 
ตารางค่าบริการ (Heat Map)
 
 

 

นับว่าเป็นรูปแบบการเก็บราคาเป็นสมการที่ง่ายที่สุด คือ มีราคาเริ่มต้นสถานีแรกที่ 15 บาท และหลังจากนั้นปรับเพิ่ม 5 บาท ในทุก ๆ สถานี หมายความว่า ถ้าหากคุณเดินทางจากสถานีหัวหมากไปสถานีลาดกระบัง จะเท่ากับการเดินทางไป 2 สถานี อ้างอิงการเก็บราคาข้างต้นจะคำนวณได้เป็น 15+5 = 20 บาท นั่นเอง

.

สามารถสรุปการเปรียบเทียบการปรับเพิ่มราคาระหว่างสถานี ได้จากตารางด้านล่าง

 

ตารางการปรับค่าบริการ

 

สรุป

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด เมื่อเปรียบเทียบช่วงค่าโดยสารที่เกิดขึ้นต่อการให้บริการทั้ง 3 เจ้า ได้แก่ BTS BEM และ ARL จะมีลักษณะดังนี้

สรุปราคาค่าโดยสารทั้ง 3 ผู้ให้บริการ

* ไม่นับสถานีที่ทดลองเปิดให้บริการฟรี

.

เหตุผลจากที่ค่าโดยสารที่บริการโดย BEM จะมีช่วงห่าง (Range) มากที่สุด (70-16= 54 บาท) เนื่องจากมีการเปิดให้บริการสายสีม่วงเพิ่ม จากเดิมที่มีให้บริการแค่สายเฉลิมมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน) เพียงสายเดียว รองลงมาคือ การให้บริการของเจ้า BTS และ ARL ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามในการคำนวณราคาค่าโดยสารของเจ้า BTS ยังไม่รวมสถานีที่ยังทดลองให้บริการฟรี (ช่วงสถานีสำโรง-เคหะสมุทรปราการ) ซึ่งหากมีการเก็บค่าโดยสารในอนาคตในช่วงดังกล่าว (คาดการณ์ว่าเพดานจะราคาจะอยู่ที่ 65 บาท) อาจทำให้ราคาค่าโดยสารทั้งระบบปรับเพิ่มขึ้นได้

และเมื่อพิจารณาโอกาสในการเก็บค่าโดยสารของระหว่างผู้ให้บริการทั้ง 3 เจ้า โดยมีสมมติฐานจากการเดินทางระหว่างสถานีทั้งระบบ จะพบว่า

 
 
 
 
 

 

โอกาสในการเก็บค่าโดยสารของ BTS สูงสุดจะเป็นค่าโดยสาร 59 บาทต่อการเดินทาง (โอกาสเกิด 366 ครั้ง) รองลงมาเป็น BEM ที่โอกาสเก็บค่าโดยสารสูงสุดจะเท่ากับ 42 บาทต่อการเดินทาง (โอกาสเกิด 47 ครั้ง) และ ARL โอกาสเก็บค่าโดยสารสารที่ 15 บาทต่อการเดินทาง (โอกาสเกิด 6 ครั้ง)

ซึ่งเมื่อนำโอกาสที่จะเก็บค่าโดยสารมาเฉลี่ยทั้งระบบจะพบว่า BTS จะมีโอกาสในการเก็บค่าโดยสารเฉลี่ย 42.9 บาทต่อการเดินทางมากที่สุด รองลงมาจะเป็น MRT และ ARL ตามลำดับ

ตารางสรุปโอกาสในการเก็บค่าโดยสารเฉลี่ย แยกตามผู้ให้บริการ

 

 

ผู้ให้บริการ

จำนวนสถานี

โอกาสในการเก็บค่าโดยสารเฉลี่ยทั้งระบบ

BTS

43

42.9*

MRT

34

40.2

ARL

8

23.3

 


* ไม่นับสถานีที่ทดลองเปิดให้บริการฟรี


จากข้อมูลดังกล่าวจะแสดงให้พบว่าถึงแม้ MRT จะมีช่วง (Range) ค่าบริการมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณาโอกาสการเก็บค่าโดยสารเฉลี่ยมากที่สุดจะเป็นของ BTS ทั้งนี้เนื่องจากในส่วนการให้บริการของ BTS นั้น ได้มีการได้รับสัมปทานหลายเจ้า ทั้งส่วนที่เป็นของกลุ่ม BTS เอง และสัมปทานของกรุงเทพมหานคร ทำให้ค่าโดยสารบริเวณต้นไปปลายสถานีตกที่ราคา 59 บาทต่อการเดินทางมากที่สุด

ซึ่งราคาค่าโดยสารในการบริการของเจ้า BTS ที่สูงนี้ จะมีโอกาสลดลงเมื่อสัมปทานส่วนแรก (ของ BTS) หมดลงในปีพ.ศ. 2572 และเมื่อถึงเวลานั้น ทุกสถานีรถไฟฟ้าของ BTS ก็จะถูกโอนกลับไปให้กรุงเทพมหานครได้บริหารจัดการแต่เพียงเจ้าเดียว ทำให้ลดความซ้ำซ้อนของผู้ให้บริการได้

อย่างไรก็ตามในอนาคตจากแผนการพัฒนารถไฟฟ้าทั้งของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA) การรถไฟแห่งประเทศไทย รวมไปถึงการพัฒนาภาคเอกชนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเส้นทางให้บริการใหม่ และส่วนต่อขยาย การเดินทางจากจุด ๆ หนึ่งไปจุด ๆ หนึ่ง อาจทำให้ผู้โดยสารสะดวกสบายก็จริง แต่ก็ต้องพิจารณาเรื่องราคาค่าโดยสารว่ามีความเหมาะสมทั้งระบบหรือไม่ร่วมด้วย ซึ่งหากมีการคุมเพดานราคาค่าโดยสารและกำหนดให้มีผู้ให้บริการน้อยราย ก็จะสามารถควบคุมราคาค่าโดยสารได้

*** บทความนี้พิจารณาค่าโดยสารเฉพาะการโดยสารเที่ยวเดียว ไม่รวมค่าโดยสารที่เป็นรายการส่งเสริมการขาย (โปรโมชั่นเหมารอบ) หรือสวัสดิการ เช่น บัตรนักเรียน นักศึกษา บัตรผู้สูงอายุ แต่อย่างใด


วิธีการอ่านตารางค่าบริการ

1. เลือกสถานีต้นทาง

2. เลือกสถานีปลายทาง

3. หาจุดตัดทั้งแนวตั้งและแนวนอน ของสถานีต้นและปลายทางที่เลือก

4. อ่านค่าที่อยู่ในช่อง จะเป็นค่าโดยสารระหว่างสถานีดังกล่าว
 


 

ตัวอย่าง หากเลือกสถานีต้นทางเป็นสถานีราชปรารภ (ขั้นที่ 1) และเลือกสถานีปลายทางเป็นสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ขั้นที่ 2) เมื่อไล่จุดตัดของสถานีต้นและปลายทางที่เลือก (ขั้นตอนที่ 3) เมื่ออ่านค่าที่อยู่ในช่องก็จะพบค่าโดยสารจะเท่ากับ 40 บาท (ขั้นที่ 4)

 

เว็บไซต์อ้างอิง :

#รถไฟฟ้า #บีทีเอส #การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย #การรถไฟแห่งประเทศไทย

ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหว ติดตาม Tooktee (ทุกที่) ผ่านโซเชียลมีเดีย

รายการ